“รู้หรือไม่? ไม่รายงานผลไปกรมโรงงาน เสี่ยงโดนปรับหลักแสน!!!“

อีกหนึ่งมาตรการในแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง และเพื่อเป็นการควบคุม กำกับ ดูแลการระบายมลพิษทางอากาศ
 
 
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้ออกประกาศฉบับใหม่  
กำหนดให้โรงงาน 13 ประเภทที่ระบายมลพิษจากปล่องจำเป็นต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษ (CEMS) เพื่อรายงานมลพิษทางอากาศจากปล่องโรงงานแบบ Real Time


จากเดิมประกาศฉบับนี้ถูกบังคับใช้แค่ในจังหวัดระยองเท่านั้นครับ
 
แต่ตามประกาศฉบับใหม่ที่ประกาศเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565 ข้อกำหนดนี้ได้ถูกขยายพื้นที่เป็นบังคับใช้ทั่วประเทศ ออกคำสั่งให้ผู้ประกอบการโรงงานในกลุ่มโรงงานขนาดใหญ่ที่มีการระบายมลพิษสูง หรือ มีกระบวนการผลิตสุ่มเสี่ยงจะมีการระบายสารมลพิษ จำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อเฝ้าระวังการระบายมลพิษทางอากาศจากปล่อง


โดยสิ่งที่ต้องตรวจวัด ที่ต้องมีการใช้เครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษในการตรวจวัดตามประกาศของกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีดังนี้
 
 
ที่มา : ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานต้องติดตั้งเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษเพื่อรายงานมลพิษอากาศจากปล่องโรงงาน พ.ศ. 2565 (ใหม่)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 



การรายงานค่า กำหนดให้รายงานมลพิษในอากาศเสียที่สภาวะมาตรฐาน หรือหมายถึง รายงานค่าที่ความดัน 1 บรรยากาศ (หรือ 760 มิลลิเมตรปรอท) อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสที่สภาวะแห้ง (Dry basis) โดยมีปริมาตรอากาศส่วนเกินในการเผาไหม้ (Excess air) ร้อยละ 50 หรือมีปริมาตรออกซิเจนในอากาศเสียร้อยละ 7 


เมื่อเครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษทำการตรวจวัดค่าแล้วนะครับ ค่าของการตรวจวัดที่ได้มาจะต้องถูกรายงานผ่านระบบ POMS (Pollution Online Monitoring System) หรือ ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยมลพิษระยะไกล ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้งานระบบได้ทั้งในรูปแบบของ Web Application หรือ Mobile Application ที่มีให้ดาวน์โหลดฟรีทั้งระบบ iOS และ Android
 
ระบบนี้ไม่ใช่แค่สะดวกและเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการโรงงาน หรือ เจ้าหน้าที่ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น ประชาชนทั่วไปก็สามารถเข้าดูค่าต่างๆเหล่านี้ได้เช่นกันครับ และหากประชาชนพบว่าค่ามลพิษของโรงงานใดๆ ณ พื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ ไม่แสดงผลเป็นตัวเลขสีเขียว ก็สามารถทำการร้องเรียนผ่านระบบได้ทันที เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและดำเนินการต่อได้ครับ


โดยการรายงานผลการตรวจวัดของผู้ประกอบการไปยังระบบนะครับ กำหนดให้รายงานผลการตรวจวัดอย่างต่อเนื่องเกินกว่าร้อยละ 80 ของชั่วโมงประกอบกิจการโรงงานทั้งหมดในแต่ละวัน และจะต้องรายงานตามเวลาจริง (Real Time) หรือเฉลี่ยอย่างช้าไม่เกิน 1 ชั่วโมง 


หากโรงงานของท่านเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง พูดง่ายๆก็คือ… ท่านจะต้องรายงานผลให้ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมงต่อวัน
 
 


หากผู้ประกอบการไม่ทำตามประกาศฉบับใหม่นี้ จะต้องโดนอะไรบ้าง ?
 
  • ไม่รายงาน ไม่แจ้ง ไม่มีเอกสารให้ตรวจสอบ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
  • ไม่ดำเนินการตามกฎหมายกำหนด ได้แก่ ไม่มีอุปกรณ์ควบคุมมลพิษและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีบุคลากรเฉพาะ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  • จงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือ ทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายอย่างรุนแรง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมสามารถสั่งหยุดการประกอบกิจการได้
 

ดังนั้นนอกจากผู้ประกอบการจะต้องเริ่มคิดเรื่องการติดตั้งเครื่องมือแล้ว ยังต้องหมั่นรายงานผลทุกวันอย่างพลาดไม่ได้อีกด้วย
 

หากมีเหตุทำให้รายงานไม่ครบตามจำนวนชั่วโมง หรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถรายงานได้ ไม่ว่าจะเป็น… ไฟไหม้ ไฟดับ ไฟตก เกิดอุบัติเหตุภายใน หรืออุปกรณ์ตรวจวัดชำรุด หรือหยุดการผลิต ฯลฯ

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกรมโรงงาน ซึ่งเราได้สรุปหลักปฏิบัติจากในประกาศมาให้ท่านเข้าใจง่ายๆได้ดังนี้

 

"รายงานผลการตรวจวัดได้ แต่ข้อมูลที่รายงานในวันนั้นๆมีน้อยกว่า 20 ชั่วโมง"

"กรณีเกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถรายงานผลการตรวจวัดได้ 0-14 วัน"

"โรงงานหยุดการผลิตไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม 0-14 วัน"

 

ให้ท่านรีบแจ้งสาเหตุหรือปัญหาให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ
ภายในวันเกิดเหตุหรือภายในวันถัดไป *โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ*

 

 

"กรณีเกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถรายงานผลการตรวจวัดได้ 15 วันขึ้นไป"

 

แจ้งสาเหตุหรือปัญหาให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบ
และต้องดำเนินการแก้ไขให้เรียบร้อยภายใน 180 วันนับจากวันที่มีเหตุ


ซึ่งในช่วงทำการแก้ไขให้ทำการตรวจวัดค่ามลพิษโดยวิธีการอื่นตามที่
มาตรฐาน U.S. EPA (United States Environmental Protection Agency) กำหนด
หรือ ด้วยวิธีการอื่นที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
โดยให้รายงานผลการตรวจวัดดังกล่าวไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรมจนกว่า
เครื่องมือหรือเครื่องอุปกรณ์พิเศษจะสามารถใช้งานได้




สำหรับผู้ประกอบการท่านที่ยังไม่ได้เตรียมตัวนะครับ ข่าวดีก็คือประกาศฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป หากท่านตรวจสอบแล้วพบว่าโรงงานของท่านคือ 1 ใน 13 ประเภทที่จำเป็นต้องเฝ้าระวังเรื่องมลพิษทางอากาศ ยังพอมีเวลาเตรียมตัวจัดเตรียมงบประมาณและสรรหาผู้ให้บริการเพื่อตอบสนองความจำเป็นดังกล่าวครับ เพื่อไม่ให้เกิดค่าปรับหรือบทลงโทษที่รุนแรงถึงขั้นสั่งปิดโรงงาน


หากท่านต้องการคำแนะนำ หรือมีคำถามเพิ่มเติมด้านใดในเรื่องของ CEMS ท่านสามารถคลิกที่นี่เพื่อฝากข้อความไว้ที่ LINE OA ของเราได้เลยครับ น้องแอดมินของเรารอทำหน้าที่ประสานงานให้ท่านได้คุยกับผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตอบคำถามของท่านได้โดยตรง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้